ขนาดของเพชรยิ่งโตราคายิ่งสูงขึ้น น้ำหนักเพชรใช้วัดเป็น CARAT

ขนาดของเพชรยิ่งโตราคายิ่งสูงขึ้น น้ำหนักเพชรใช้วัดเป็น CARAT
ในบทความนี้เรามาดูลักษณะและชนิดของเพชรกันครับ เพชรเป็นแร่มีรูปร่างผลึก 8 เหลี่ยม หรือ 12 เหลี่ยม มีความโปร่งใส และกึ่งโปรงใส มีประกายแวววาว รอยตำหนิมีเหลี่ยมมุมถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง เพชรมีหลายสี ตั้งแต่ไม่มีสี จนกระทั่งถึงสีดำ ที่เรียกว่า Carbonado สีต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกิดจากมลทินในผลึก ส่วนใหญ่จะพบไนโตรเจน ซึ่งจะพบอยู่ถึงร้อยละ 0.2 นอกจากนี้ยังพบซิลิกอน แมกนีเซียม อะลูมิเนียม เหล็ก แคลเซียม และทองแดง ซึ่งมีอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก เพชรที่พบอยู่โดยทั่วไปจะมีสี เหลือง หรือน้ำตาลอ่อน เพชรที่ใสไม่มีสี จะมีราคาสูงที่สุดและเป็นที่นิยม แต่เพชรมีสีนั้นค่อนข้างหายาก เช่น สีชมพู หรือสีน้ำเงิน เช่น Hope Diamond เป็นเพชรที่มีสีฟ้า มีชื่อเสียงมาก และชนิดที่หายากที่สุดคือ Red Diamond เพชรแบ่งออกได้ 4 ชนิด คือ ชนิด la มีไนโตรเจน ประมาณร้อยละ 0.1 ได้แก่ เพชร ที่ขุดตามธรรมชาติ ชนิด lb…Read More

แหวนเพชรเก๊ 400 บาท ถูกประมูลไป 28 ล้านบาท

แหวนเพชร
ข่าวต่างประเทศ สถาบันประมูลโซธบีส์ในกรุงลอนดอน นำแหวนเพชรที่ถูกซื้อมาในราคา 10 ปอนด์ (ประมาณ 426 บาท) ออกประมูล และสามารถจำหน่ายไปในราคา 656,750 ปอนด์ (ประมาณ 28 ล้านบาท) หรือราว 2 เท่าของราคาประเมินเบื้องต้นซึ่งอยู่ที่ระหว่าง 250,000-350,000 ปอนด์ รายงานระบุว่า ผู้ขายแหวนเพชรวงนี้ซึ่งไม่ประสงค์ออกนาม ซื้อเพชรเม็ดดังกล่าวซึ่งเธอคิดว่าเป็นของปลอมมาจากร้านขายของเปิดท้ายรถเมื่อช่วงทศวรรษที่ 80 เพื่อเอามาทำหัวแหวนและสวมใส่แหวนวงนี้ทุกวัน หลังจากนั้นประมาณ 30 ปี เธอก็ตัดสินใจเดินทางไปยังสถาบันประมูลโซธบีส์ เพื่อนำแหวนวงนี้มาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ หลังจากมีพ่อค้าอัญมณีบอกว่ามันอาจเป็นของมีค่า และผลการตรวจสอบพบว่า จริงๆ แล้วเพชรปลอมนี้คือเพชรสีขาว รูปทรงคุชชั่น น้ำหนัก 26.29 กะรัต และถูกเจียระไนในช่วงศตวรรษที่ 19 ด้านนางเจสซิกา วินด์แฮม หัวหน้าแผนกอัญมณีของสถาบันโซธบีส์ในกรุงลอนดอนระบุว่า ด้วยวิธีการเจียระไนรูปแบบเก่า รูปทรงคุชชั่นแบบโบราณ และการที่ไม่สะท้อนแสงมากเหมือนกับเพชรที่เจียระไนด้วยวิธียุคใหม่ อาจหลอกคนทั่วไปให้คิดว่าเป็นเพชรปลอมได้Read More

ตุ้มหูเพชร ราคาแพงที่สุดในโลก

ตุ้มหูเพชร
ตุ้มหูเพชรสีฟ้าและสีชมพูซึ่งหนักข้างละเกือบ 16 กะรัต ถูกประมูลไปในราคาสูงถึง 57.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1,980 ล้านบาท) ในงานประมูลของบริษัทซอเธอบีส์ซึ่งจัดขึ้นที่นครเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้เครื่องประดับชิ้นนี้กลายเป็นตุ้มหูเพชรที่มีราคาแพงที่สุดในโลก ตุ้มหูเพชรดังกล่าวมีชื่อว่า "อพอลโลและอาร์ทีมิส" เป็นเพชรน้ำงามไร้ตำหนิที่ขุดได้จากเหมืองในประเทศแอฟริกาใต้ โดย "อพอลโล" ซึ่งทำจากเพชรสีฟ้านั้น ขุดได้จากเหมืองคัลลิแนนที่มีชื่อเสียง และเป็นเพชรชนิดที่หายากกว่า "อาร์ทีมิส" ซึ่งเป็นเพชรสีชมพู ตุ้มหูเพชรทั้งสองข้างผ่านการเจียระไนเป็นรูปหยดน้ำ โดยมีน้ำหนักและรูปร่างลักษณะเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่สีสันของเพชรและสนนราคาที่มีผู้ประมูลไป โดยอพอลโลนั้นมีราคาประมูลถึง 42.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่อาร์ทีมิสมีมูลค่าต่ำกว่าที่ 15.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เดิมทีนั้นบริษัทซอเธอบีส์นำตุ้มหูเพชรดังกล่าวออกเสนอประมูลโดยแยกข้างกัน เนื่องจากเกรงว่าสนนราคาที่สูงลิ่วจะทำให้ไม่มีผู้ประมูลตุ้มหูเพชรนี้แบบเป็นคู่ แต่กลับผิดคาดหลังมีผู้ไม่ประสงค์ออกนามประมูล "อพอลโลและอาร์ทีมิส" ไปทั้งคู่ แต่ราคาที่ประมูลได้ยังต่ำกว่าเป้าหมายของทางบริษัท ซึ่งเดิมตั้งไว้ที่ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯRead More

30 ปีผ่านไป จาก เพชรเทียม สู่เพชรจริง ราคาพุ่ง 3.5 หมื่นเท่า

30 ปีผ่านไป จาก เพชรเทียม สู่เพชรจริง ราคาพุ่ง 3.5 หมื่นเท่า
แหวนเพชรที่ซื้อจากตลาดนัดเปิดท้ายขายของด้วยราคาเพียง 10 ปอนด์ เมื่อ 30 ปีก่อน กำลังจะเข้าร่วมการประมูลซึ่งคาดว่าจะได้ราคาสูงถึง 350,000 ปอนด์ หรือเกือบ 16 ล้านบาท เจ้าของแหวนดังกล่าวคิดว่า เพชรเม็ดโตนี้เป็นเพียงแค่เครื่องประดับเสื้อผ้าตอนที่เธอซื้อมันที่โรงพยาบาลเวสต์ มิดเดิลเซ็กส์ ที่ฝั่งตะวันตกของกรุงลอนดอนเมื่อทศวรรษที่ 80 เธอใส่มันในชีวิตประจำวันเป็นเวลาหลายสิบปีโดยไม่รู้ว่าเพชรสีขาวรูปทรงหมอนนี้เป็นเพชร 26 กะรัตมาจากสมัยศตวรรษที่ 19 แหวนเพชรวงนี้จะเข้าร่วมการประมูลโดยบริษัทจัดการประมูลซัธบีส์ ที่ลอนดอนในเดือนมิถุนายนนี้ นางสาวเจสสิกา วินดึม หัวหน้าฝ่ายการประมูลของบริษัท กล่าวว่า "เจ้าของใส่มันออกไปช็อปปิ้งทุกวัน มันเป็นแหวนที่สวยงาม เธอนึกว่ามันเป็นแค่เพชรพลอยประดับเสื้อผ้า ไม่มีใครคิดเลยว่ามันจะมีคุณค่าอะไร" "พวกเขาไปตลาดนัดเปิดท้ายขายของบ่อยครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการสะสมของเก่าหรือการสะสมเพชร เป็นเรื่องส้มหล่นจริงๆ เป็นการค้นพบที่วิเศษ" นางสาววินดึม เล่าว่า ตัวเจ้าของผู้ไม่ประสงค์จะออกชื่อ คิดว่ามันไม่ใช่เพชรของแท้เนื่องจากฐานรองรับแหวนที่ดูสกปรกโสโครก และตัวเพชรไม่มีความแวววาว เธออธิบายว่า การเจียระไนเพชรในสมัยก่อนจะออกทื่อและลงลึกกว่าในปัจจุบันเล็กน้อย นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้คนคิดว่าเป็นของปลอม "การเจียระไนเพชรเป็นรูปทรงหมอนแบบสมัยก่อนจะทำให้ไม่เกิดความวาวเท่ากับวิธีสมัยใหม่ คนเจียระไนสมัยก่อนจะคงรูปทรงธรรมชาติของตัวเพชรไว้เพื่อรักษาน้ำหนักของมัน มากกว่าจะพยายามทำให้มันแวววาว" หลังจากใส่แหวนนี้มา 30 ปี เจ้าของร้านเครื่องประดับแนะนำให้ตัวเจ้าของลองเอาแหวนไปให้ซัธบีส์ดู "พวกเขาเข้ามาหาเราโดยคิดแค่ว่ามันอาจจะเป็นของจริง แต่ไม่รู้เลยว่ามันจะมีราคาเท่าไหร่" "เราลองดูตรวจดู แล้วก็ส่งไปที่สถาบันอัญมณีศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (Gemological Institute of America)" "พวกเราส่วนใหญ่ไม่อาจจะจินตนาการได้เลยด้วยซ้ำถึงการเป็นเจ้าของเพชรเม็ดใหญ่ขนาดนี้" นางสาววินดึม…Read More

การทำเหมืองเพชรครั้งแรก อยู่ที่ใด

เหมืองเพชร
เพชร มีการทำเหมืองเพชรครั้งแรกในประเทศอินเดีย เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตามสเกลของโมส์ มีค่าความแข็งเท่ากับ 10 เพชรมีหลายสี สีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ สีที่หายากคือสีแดง ฟ้า เขียว ส้ม ชมพู เรียก "แฟนซีไดมอนด์" มีราคาสูงมาก การเจียระไนเป็น 52 เหลี่ยมนับว่าสวยที่สุด เพชรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง แหล่งของเพชรมีอยู่ทั่วโลก ส่วนมากพบที่บราซิลและแอฟริกาใต้ เพชรมีการกล่าวถึงและทำเหมืองเพชรครั้งแรกในประเทศอินเดีย โดยเฉพาะชั้นหินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาเป็นเวลาหลายศตวรรษตามแม่น้ำเพนเนอร์ กฤษณะ และ โคธาวารี เพชรเป็นที่รู้จักในประเทศอินเดียมาไม่น้อยกว่า 3,000 ปีแต่ไม่เกิน 6,000 ปี อัญมณีเพชรกลายเป็นสิ่งมีค่าเมื่อมีการนำไปใช้เป็นรูปเคารพทางศาสนาในอาณาจักรอินเดียโบราณ นอกจากนี้ ยังมีการใช้งานเพชรเป็นเครื่องมือแกะสลักตั้งแต่สมัยต้นประวัติศาสตร์ของมนุษย์อีกด้วย ความนิยมของเพชรได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากอุปทานที่เพิ่มขึ้น เทคนิคการตัดและขัดเกลาที่ดีขึ้น การเติบโตของเศรษฐกิจโลก และการปฏิรูปและความสำเร็จของการโฆษณาเผยแพร่ ในปี ค.ศ. 1772 อ็องตวน ลาวัวซีเยได้ใช้แว่นขยายรวมรังสีดวงอาทิตย์ไปบนเพชรในบรรยากาศที่มีแต่ออกซิเจน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์จากการเผาไหม้มีเพียงแต่คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นการพิสูจน์ว่าเพชรเป็นองค์ประกอบของคาร์บอน ต่อมาในปี ค.ศ. 1797 สมิทสัน เท็นแนนต์ ได้ทำซ้ำและเพิ่มเติมการทดลองนี้ โดยแสดงให้เห็นว่าการเผาไหม้เพชรและกราไฟท์จะปลดปล่อยก๊าซที่มีองค์ประกอบเดียวกัน สมิทสันได้สร้างสมดุลสมการเคมีของสารเหล่านี้ขึ้นมา…Read More