โชคหล่นทับ! นายราจู กาวนด์ คนงานชาวอินเดียกลายเป็นเศรษฐีเพียงชั่วข้ามคืน หลังขุดพบเพชรขนาดใหญ่ในเหมืองในรัฐมัธยประเทศตอนกลาง ซึ่งคาดว่าเพชรดังกล่าวนั้นมีขนาดประมาณ 19.22 กะรัต ตีเป็นเงินได้ราว 8 ล้านรูปี หรือ 3.4 ล้านบาท หลังจากที่เขาทำงานเหมืองมานาน 10 ปี ทั้งนี้ เขาตั้งใจจะนำเงินดังกล่าวไปสร้างบ้านให้ครอบครัว รวมถึงจ่ายค่าเล่าเรียนให้ลูกๆ แต่ก่อนหน้านั้น เขาต้องใช้หนี้ที่มีตีเป็นเงินไทยประมาณ 2 แสนบาท ให้หมดก่อน เขายังบอกอีกว่าไม่กลัวที่คนจะรู้ว่าเขาหาเพชรเจอ และตั้งใจว่าจะแบ่งเงินให้ญาติของเขาทั้ง 19 คนอีกด้วย และตั้งใจที่จะขุดหาเพชรต่อไป #เรื่องเล่าเช้านี้#ข่าวช่อง3
เพชรคัลลินัน เพชรน้ำงาม ที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดในโลก
วันนี้ในอดีต26 มกราคม พ.ศ. 2448ขุดพบ ‘เพชรคัลลินัน’เพชรน้ำงามที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ‘เพชรคัลลินัน (Cullinan diamond)’ หรือเพชรน้ำงามที่รู้จักกันในนามของ ‘Star of Africa’ เป็นเพชรคุณภาพอัญมณีดิบที่จัดได้ว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบในประวัติศาสตร์ โดยมีขนาดถึง 3,106.75 กะรัต (621.35 กรัม) มีความยาวประมาณ 10.5 ซม. (4.1 นิ้ว) และมีความสว่างใส ซึ่งถูกค้นพบในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2448 ในเหมืองเพชรพรีเมียร์ หมายเลข 2 ในเมืองคัลลินัน ใกล้กับกรุงพริทอเรีย ประเทศแอฟริกาใต้ เพชรคัลลินัน ค้นพบโดยนักขุดเหมืองที่มีชื่อว่า ทอมัส อีวาน พาวเวลล์ ก่อนที่จะส่งมอบให้กับผู้จัดการเหมืองพรีเมียร์ คือ เฟรเดอริก เวลส์ โดยเพชรนี้ได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของ เซอร์ ทอมัส คัลลินัน ผู้ครอบครองเหมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 เพชรคัลลินัน ถูกขายให้กับรัฐบาลอาณานิคมทรานส์วาลในแอฟริกา เพื่อต้องการสร้างความปรองดองหลังจากสงครามบูร์ครั้งที่ 2 กับสหราชอาณาจักร จึงนำเพชรคัลลินันอันทรงคุณค่า ทูลเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่…
เพชรดิบล้นตลาด 4,500 ล้านเหรียญ เหมืองยักษ์ดัมพ์ราคาระบายสต๊อก
FILE PHOTO: Diamonds are pictured during an official presentation by diamond producer Alrosa in Moscow, Russia Ferbuary 13, 2019. REUTERS/Maxim Shemetov/File Photo “ธุรกิจเพชร” เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่เผชิญปัญหายอดขายที่ลดลงอย่างรุนแรงจากมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ปริมาณเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน หรือ “เพชรดิบ” (rough diamond) ล้นตลาด ซึ่งการถือเพชรดิบเหล่านี้ไว้ นอกจากจะมีต้นทุนในการจัดเก็บแล้ว ยังเผชิญกับความเสี่ยงราคาที่จะลดลงอีกด้วย ดังนั้น บริษัทเพชรยักษ์ใหญ่ของโลกจึงอาจเกิดการเทขายสต๊อกจำนวนมากออกมาเพื่อลดความเสี่ยง สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ทำลายความต้องการซื้ออัญมณีลงทั่วโลก โดยบลูมเบิร์กรายงานว่า “เดอ เบียร์ส” บริษัทผลิตสำรวจและทำเหมืองเพชรรายใหญ่ของโลก ซึ่งครอบครองเหมืองส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกา ประสบปัญหาไม่สามารถทำยอดขายได้เลยนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2020 เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ทำให้ร้านจิวเวลรี่ทั่วโลกต้องปิดตัวชั่วคราว ขณะที่โรงเจียระไนก็ต้องหยุดการผลิต รวมถึงอีเวนต์แสดงสินค้าต่าง ๆ ก็ถูกยกเลิก รายงานยังกล่าวถึง “อัลโรซ่า” บริษัทเหมืองเพชรรายใหญ่ของโลกอีกรายจากรัสเซีย ก็เผชิญกับความยากลำบากเช่นเดียวกัน แม้ว่าหลายประเทศจะเริ่มควบคุมการระบาดได้ ส่งผลให้อุตสาหกรรมเพชรเริ่มกลับมาดำเนินการบ้างแล้ว โดยพบว่าร้านจิวเวลรี่ในประเทศจีนเริ่มกลับมาเปิดแล้ว ขณะที่โรงงานเจียระไนที่เมือง “สุรัต” ศูนย์กลางการเจียระไนเพชรระดับโลกของประเทศอินเดีย…
การทำเหมืองเพชรครั้งแรก อยู่ที่ใด
เพชร มีการทำเหมืองเพชรครั้งแรกในประเทศอินเดีย เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตามสเกลของโมส์ มีค่าความแข็งเท่ากับ 10 เพชรมีหลายสี สีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ สีที่หายากคือสีแดง ฟ้า เขียว ส้ม ชมพู เรียก "แฟนซีไดมอนด์" มีราคาสูงมาก การเจียระไนเป็น 52 เหลี่ยมนับว่าสวยที่สุด เพชรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง แหล่งของเพชรมีอยู่ทั่วโลก ส่วนมากพบที่บราซิลและแอฟริกาใต้ เพชรมีการกล่าวถึงและทำเหมืองเพชรครั้งแรกในประเทศอินเดีย โดยเฉพาะชั้นหินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาเป็นเวลาหลายศตวรรษตามแม่น้ำเพนเนอร์ กฤษณะ และ โคธาวารี เพชรเป็นที่รู้จักในประเทศอินเดียมาไม่น้อยกว่า 3,000 ปีแต่ไม่เกิน 6,000 ปี อัญมณีเพชรกลายเป็นสิ่งมีค่าเมื่อมีการนำไปใช้เป็นรูปเคารพทางศาสนาในอาณาจักรอินเดียโบราณ นอกจากนี้ ยังมีการใช้งานเพชรเป็นเครื่องมือแกะสลักตั้งแต่สมัยต้นประวัติศาสตร์ของมนุษย์อีกด้วย ความนิยมของเพชรได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากอุปทานที่เพิ่มขึ้น เทคนิคการตัดและขัดเกลาที่ดีขึ้น การเติบโตของเศรษฐกิจโลก และการปฏิรูปและความสำเร็จของการโฆษณาเผยแพร่ ในปี ค.ศ. 1772 อ็องตวน ลาวัวซีเยได้ใช้แว่นขยายรวมรังสีดวงอาทิตย์ไปบนเพชรในบรรยากาศที่มีแต่ออกซิเจน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์จากการเผาไหม้มีเพียงแต่คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นการพิสูจน์ว่าเพชรเป็นองค์ประกอบของคาร์บอน ต่อมาในปี ค.ศ. 1797 สมิทสัน เท็นแนนต์ ได้ทำซ้ำและเพิ่มเติมการทดลองนี้ โดยแสดงให้เห็นว่าการเผาไหม้เพชรและกราไฟท์จะปลดปล่อยก๊าซที่มีองค์ประกอบเดียวกัน สมิทสันได้สร้างสมดุลสมการเคมีของสารเหล่านี้ขึ้นมา…